36 ปี ธรณี มข. วิวัฒน์ประวัติ ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี

ที่มา: 36 ปี ธรณี มข. คนเคาะหินมอดินแดง ปี 2554

โดย: ผศ. วินิจ ยังมี (ธรณี มข. รุ่น 1)

เทคโนโลยีธรณี ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี เดิมคือ ภาควิชาธรณีวิทยา ได้จัดตั้งขึ้นใน คณะวิทยาศาสตร์-อักษรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2518 เริ่มรับนักศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. 2520 ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ได้ย้ายมาสังกัด คณะเทคโนโลยี และเปลี่ยนชื่อเป็น ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี ปัจจุบัน ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก บนพื้นฐาน วิศวกรรมธรณี ธรณีวิทยา อุทกธรณีวิทยา ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม และธรณีประยุกต์

ในระยะแรกเริ่ม สำนักงานหรือที่ทำการภาควิชาฯ ตั้งอยู่ใน ตึกฟิสิกส์ มีห้องเรียนและห้องปฏิบัติการอยู่ที่ตึกฟิสิกส์เช่นเดียวกัน ภาระงานในเบื้องต้นได้ทำการสอนให้ความรู้ในกระบวนวิชาธรณีวิทยาสำหรับครู ซึ่งแต่เดิมเปิดสอนในคณะศึกษาศาสตร์ สาขาการมัธยมศึกษา เมื่อมี ภาควิชาธรณีวิทยา วิชาธรณีวิทยาสำหรับครู จึงได้ย้ายสังกัดมาอยู่ในภาควิชาธรณีวิทยา พร้อมทั้งขอโอนย้ายอาจารย์เจ้าของวิชา คือ อาจารย์สุวิน บุษราคัม มาด้วย บุคลากรรุ่นบุกเบิก เท่าที่จำได้และเคยได้ยินมาก็มี อาจารย์ ดร.ภักดี ธันวารชร ผู้ก่อตั้ง (เคยมีอาจารย์ ดร. สุพัตรา จินาวัฒน์) อาจารย์มนตรี บุญเสนอ อาจารย์เกรียงศักดิ์ ศรีสุข อาจารย์เพ็ญจันทร์ บุษราคัม อาจารย์วนิดา จุฑาทิส และอาจารย์ประภารัตน์ พนารมย์ (บัณฑิตเคมี มข. รุ่นแรก เกียรตินิยมอันดับ 1) เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ คือ คุณสุรศักดิ์ สุขสมรส และคุณแฉลัม ชาชุม หรือป้าแอ๋วของพวกเราที่ทุกคนยอมรับในฝีมือชงกาแฟในห้องน้ำชาภาควิชาฯ 

ภายหลังจากมีการก่อสร้างตึกใหม่ของ คณะวิทยาศาสตร์ คือ ตึก 5C03 แปลนเดิม ตึกนี้มีใต้ถุนโล่ง อาจารย์ ดร.ภักดี ได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยขอดัดแปลงให้ใต้ถุนตึก SC03 เป็นที่ทำการ ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการของภาควิชาธรณีวิทยา ตึกนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2521 ภาควิชาธรณีวิทยาจึงมีที่ทำการของตัวเอง มีอาสาสมัครจากต่างประเทศภายใต้โครงการ CUSO (Canadian University Sevice Oversea) เริ่มจากอาจารย์ Murrey Jackson ตามด้วยนักวิทยุสมัครเล่นระดับสูง Dr. George collins และปิดท้ายด้วย Dr. John Peter Mills ท่านสุดท้ายนี้เมื่อหมดโครงการแล้วท่านก็ไม่ยอมกลับ ยังคงอยู่ในประเทศไทยจนปัจจุบัน (พ.ศ. 2555) ท่านแรกท่านได้พาคู่ชีวิตชาวไทยกลับไปอยู่แคนาดาด้วย 

ในที่ทำการใหม่ (ตึก 5C03) เรามีห้องปฏิบัติการที่เกือบจะสมบูรณ์แบบ มีห้องหัวหน้าภาควิชาฯ ห้องพักอาจารย์ ห้องตัด/เตรียมตัวอย่างหิน ห้องปฏิบัติการกลศาสตร์ดิน-หิน ห้องปฏิบัติการธรณีเคมี ห้องปฏิบัติการภาพถ่ายทางอากาศ ห้องสมุดแผนที่ ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการศิลาวิทยา ห้องเก็บพัสดุครุภัณฑ์ที่จะต้องใช้ในงานสนาม และที่สร้างความผูกพันให้กับสมาชิกมากโข ก็คือ ห้องน้ำชา ซึ่งใช้ระบบความไว้เนื้อเชื่อใจ ใครกินอะไรขอให้ช่วยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วย

อาจารย์ ดร.ภักดี ธันวารชร ผู้ก่อตั้ง

ระยะนี้ภาควิชาฯ มีบุคลากรเพิ่มขึ้น มีอาจารย์ลัดดา เต็มอุดม อาจารย์ฉลอง บัวผัน อาจารย์สมยศ ฮกเจริญ (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2534) คุณวิชาญ หิรัญเกิด คุณสนิท ศรีเทพ คุณสุดชาดา ภูบุญอบ คุณประกิต (ณัฐกานต์) ทัพภูมี คุณอุทัย แก้วใส (ภายหลังไปอยู่กรมศุลกากร) คุณวรา เปศรี (ภายหลังไปสังกัด สนง.คณบตี) คุณธวัชชัย ไชยน้อย (ภายหลังไปสังกัด สนง.คณบดี) คุณประเทือง พระโคตร คุณสดับพร จันทราษฎร์ (ภายหลังไปสังกัด สนง.คณบดี) คุณสมจันทร์ บัวคำทุม (ภายหลังไปสังกัด สนง.คณบดี) คุณตานี ศรีคุ้ม (ภายหลังไปเป็นครูสอนหนังสือและได้ คุณสุรพล มาแทน) คุณสุรพล ตันมิ่ง (ภายหลังไปเป็นอาจารย์ รร.เลยพิทยาคม) คณาจารย์ก็มีเพิ่มขึ้นในระยะต่อมามี อาจารย์วินิจ ยังมี อาจารย์หล้า อาจวิชัย ซึ่งเป็นผลิตผลภาควิชาฯ รุ่นแรก อาจารย์พวงเพชร ธนสิน (ภายหลังลาออก) อาจารย์วัชราภรณ์ เชื่อนแก้ว (ภายหลังไปสังกัด ม.บูรพา) อาจารย์รุ่งเรือง เลิศศิริวรกุล (ผลผลิตภาควิชาฯ รุ่น 2) อาจารย์สุกันยา วรรณเกษม (ภายหลังไปอยู่ ปตท.สผ.) อาจารย์เอมอร ทัศนศร (ภายหลังไปสังกัต มทส. และถึงแก่กรรม เมื่อ ม.ค. 2555) อาจารย์พัชร์สุ (พันศักดิ์) วรรณขาว (เป็นผลิตผลภาควิชาฯ รุ่น 3) 

 

ช่วงระยะเวลาของการก่อตั้งคณะใหม่ คือ คณะเทคโนโลยี นั้น เป็นช่วงเวลาตอนปลายของการดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ของอาจารย์ ดร.ภักดี ภาควิชาธรณีวิทยา ตอนอยู่ในสังกัด คณะวิทยาศาสตร์ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก การได้รับงบประมาณสนับสนุนอย่างเต็มที่นั้น น่าจะมีบารมีของท่านอาจารย์ ดร.ภักดี อยู่ไม่น้อย เมื่อมีโครงการจัดตั้งคณะใหม่ คณะทำงานก็ต้องเป็นกลุ่มบุคลากรที่จะต้องย้ายสังกัดมาอยู่ ซึ่งประกอบด้วยจากภาควิชาธรณีวิทยา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และภาควิชาผลิตภัณฑ์เกษตร คณะบุคลากรเหล่านี้เท่าที่จำได้ ได้แก่ อาจารย์ ดร.ภักดี ธันวารชร อาจารย์มนตรี บุญเสนอ อาจารย์ ตร.เกษม ปราบริปูตลุง (ภายหลังไปอยู่ มทส.) อาจารย์ ดร.ทิพวรรณา งามศักดิ์ อาจารย์เกษม นันทชัย อาจารย์พิษณ วิเชียรสรรค์ อาจารย์เอมอร ทัศนศร ฯลฯ ดังที่อาจจะได้ยินได้ฟังมาบ้างว่า การจะจัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมานั้นมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย หากเห็นด้วยก็ไม่มีปัญหาอะไร หากไม่เห็นด้วยก็มีการสร้างแรงเสียดทาน โดยเฉพาะหากผู้ที่ไม่เห็นด้วยเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยระดับสูงแล้วแรงเสียดทานจะมีขนาดใหญ่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ทั้งท่าน อาจารย์ ดร.ภักดี และดร.เกษม ย้ายสังกัดก็เป็นได้ในช่วงต้น

การย้ายสังกัด ภาควิชาฯ ไปอยู่คณะเทคโนโลยี ซึ่งเป็นคณะวิชาใหม่ของ มหาวิทยาลัยชอนแก่น การดำเนินการทั้งการจัดตั้งและการบริหารงานอยู่ภายใต้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยระดับสูง คือ อธิการบดี และอธิการบดีเป็นผู้แต่งตั้งผู้บริหาร คณะเทคโนโลยี อาจารย์สุวิน บุษราคัม ขอตัวไม่ไปด้วยอาจารย์ขอไปอยู่ภาควิชาเคมี ส่วนอาจารย์ ตร.ภักตี ได้ขอลาออกจากราชการและไปอยู่ ปตท.สผ. ทำให้คณาจารย์ที่เหลืออยู่ในขณะนั้นใจหาย มองไม่เห็นอนาคตภาควิชาฯ ว่าจะเดินไปทิศทางใด ภายใต้ข้อจำกัดที่แตกต่างจากเดิมเป็นอย่างมาก

เมื่อย้ายมาอยู่ตึกใหม่ คณะเทคโนโลยี ในปี พ.ศ. 2529 คณะเทคโนโลยี มีระบบการจัดการแบบรวมศูนย์ คือ จะใช้หน่วยงานสารบัญร่วมกันที่ต่างจากสังกัดเดิม คือ คณะวิทยาศาสตร์ ที่ให้แต่ละภาควิชามีหน่วยงานสารบัญเอง โครงสร้างใหม่จึงทำให้ภาควิชาฯ ไม่มีหน่วยสารบัญ บุคลากรบางส่วนจึงต้องไปสังกัดคณะ เท่ากับเป็นการลดขนาดภาควิชาฯ งบประมาณที่ได้รับก็ไม่สอดคล้องกับกิจกรรมตามภารกิจ (ลดขนาดตามไปด้วย) แต่ภาควิชาฯ ก็ยืนหยัดดำเนินงานต่อมาเท่าที่จะทำได้ ได้บุคลากรเพิ่มมาในช่วงนี้ เช่น คุณมารุต แซ่ลิ้ม คุณสาคร แสงชมกู คุณสมพล จรรยากรณ์ คุณฐิติรัตน์ อินสาลี คุณพินิจ ณรงค์ศักดิ์ (ภายหลังไปอยู่ ม.ราชมงคล) คุณสมยศ สอนแตง คุณจิตรา แสงชมภู คุณยุวดี ไพศาลพันธ์ อาจารย์ประสงค์ โพธิ์ทอง (ภายหลังลาออก) อาจารย์เพียงตา สาตรักษ์ (นักเรียนทุนผลิตผล ภาควิชาฯ รุ่น 4) อาจารย์ศรัญญา พรหมโคตร อาจารย์เกียรติศักดิ์ ศรภิรมย์ (ผลิตผลภาควิชาฯ รุ่น 9) อาจารย์ณัฐวิโรจน์ (ธนูชัย) ศิลารัตน์ (ผลิตผลภาควิชาฯ รุ่น 16) อาจารย์ปิยะฉัตร รัตนา (ผลิตผลภาควิชาฯ รุ่น 17) อาจารย์นุศรา สุระโคตร (แสงกุมาร) (ผลิตผลภาควิชาฯ รุ่น 17) และได้อาจารย์สุรชัย สมผดุง (ผลิตผลภาควิชาฯ รุ่น 3) โอนย้ายมาจากกรมทางหลวงเพิ่มอีก 1 ท่าน ได้ตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ 1 ตำแหน่ง บรรจุคุณพรอุษา อุดมศิลป์ (ผลิตผลภาควิชาฯ รุ่น 15 - ภายหลังลาออก) และได้คุณวิมล สุขพลำ (ผลิตผลภาควิชาฯ รุ่น 23) มาแทนหลังจากว่างเว้นมาหลายปี ทำให้ภาควิชาฯ มีศักยภาพในภารกิจอย่างเต็มเปี่ยม และยังได้อาจารย์เพิ่มจากนักเรียนทุนอีก คือ อาจารย์ดร.กฤติกา ตระกูลงาม อาจารย์ ดร.กมลพร กรมขันธ์ (ผลิตผลภาควิชาฯ รุ่น 19) และอาจารย์ดร.รุ่งโรจน์ อาจเวทย์ (ผลิตผลภาควิชาฯ รุ่น 23) กลับมาเป็นรายล่าสุด

ในช่วงแรกของการมาอยู่ตึกใหม่ คณะเทคโนโลยี ห้องพักอาจารย์อยู่ปะปนกันตามนโยบายคณะ (ตึก TE01 ชั้นบนปีกตะวันออก) ห้องปฏิบัติการมีตึกเล็ก ๆ ของตนเอง (ตึกTE03) และภาควิชาอื่นยังไม่มีนักศึกษากิจกรรมต่าง ๆ ของคณะที่เกี่ยวกับนักศึกษา จึงเป็นหน้าที่ของนักศึกษาเทคโนโลยีธรณีทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเชียร์ การออกค่ายอาสาพัฒนา กิจกรรมไหว้ครู ปัจฉิมนิเทศ ฯลฯ เมื่อภาควิชาอื่น (เทศโนโลยีอาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ) รับนักศึกษาแล้ว กิจกรรมของนักศึกษาเทคโนโลยีธรณี จึงลดระดับความเข้มข้นลง และดูเหมือนว่าจะเป็นถูกจัดลำดับขั้นเป็นประชากรระดับด้อยคุณภาพของคณะฯ อาจด้วยบุคลิกภาพที่ถูกมองว่าให้ความเพลิดเพลินกับการสังสรรค์กลางแจ้งมากไป เงื่อนไข/สถานการณ์ของประเทศในขณะนั้น อุตสาหกรรมการเกษตรได้รับความสนใจและส่งเสริมจากภาครัฐสูงมาก แผนการพัฒนาบุคลากรของคณะเทศโนโลยี จึงมุ่งออกไปด้านนี้ และส่งผลให้ภาควิชาฯ ของคณะในสายนี้เป็นไปตามเป้าหมาย ในขณะที่สาขาธรณีศาสตร์ ได้รับความสนใจและส่งเสริมน้อยกว่าจากภาครัฐ ผลก็คือแผนพัฒนาบุคลากร ของภาควิชาฯ ไปได้ช้ากว่าที่ควรจะเป็น

ในช่วงกลาง ภาควิชาฯ ได้รับงบประมาณค่าครุภัณฑ์การศึกษาและก่อสร้างตึก TE05 ทำให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษามากขึ้น บุคลากรมีคุณวุฒิสูงเพิ่มขึ้น จนสามารถดำเนินการสอนระดับบัณฑิตศึกษาได้ มีงานให้บริการทางวิชาการ ที่นอกจากจะเปิดโอกาสให้บุคลากรได้เพิ่มประสบการณ์ในวิชาชีพแล้ว ยังนำผลงานบางส่วน มาเป็นกิจกรรมและข้อมูลการเรียนการสอนอย่างดีอีกด้วย

ตลอดระยะเวลา 36 ปี ที่ภาควิชาฯ ดำเนินงานมานั้น มีทั้งประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหวัง และไม่ประสบผลตามที่คาดหวังก็มีอยู่ ความสำเร็จที่น่าจะร่วมกันแสดงความยินดีกับ ภาควิชาฯ ก็คือ ผลิตผลหรือบัณฑิตที่จบออกไป ประสบผลสำเร็จในอาชีพการงานทั้งในภาคราชการ ภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน โดยในภาคราซการนั้น มีศิษย์เก่าที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งถึงระดับสูงสุดของข้าราชการฝ่ายพลเรือน คือ ปลัดกระทรวงฯ ในภาครัฐวิสาหกิจนั้นศิษย์เก่าก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นถึงระดับหัวหน้ากอง ในส่วนของธุรกิจเอกชนมีหลายรูปแบบ ทั้งที่ตั้งธุรกิจเป็นของตนเองและประสบความสำเร็จในธุรกิจ และที่ทำงานเป็นพนักงานอยู่ในธุรกิจในรูปบริษัทจำกัด ใด้ใช้ความรู้ในวิชาชีพที่ได้รับการประสิทธิ์ประสาทจากภาควิชาฯ อย่างเต็มความสามารถ

กิจกรรมที่คิดว่าภาควิชาฯ ประสบผลสำเร็จอีกอย่างหนึ่งที่น่าจะร่วมกันแสดงความยินดี ก็คือ การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ โดยภาควิชาฯ เป็นเจ้าภาพครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2528 ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2538 ในโอกาสครบรอบ 20 ปี ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2548 ครบรอบ 30 ปี และครั้งล่าสุด - ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ. 2554 ครบ 3 รอบ หรือ 36 ปี ในการประชุมแต่ละครั้ง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดงานเป็นอย่างดี ทั้งภาครัฐ คือส่วนราชการต่างๆ ที่สนับสนุน อนุญาต หรือส่งเจ้าหน้าที่มาเข้าร่วมการประชุม และในภาคธุรกิจเอกชนที่สนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอ ที่พิเศษอย่างยิ่งซึ่งไม่เคยทำมาก่อน คือ การจัดทัศนศึกษาหลังการประชุมวิชาการที่เราได้จัดแบบข้ามประเทศครั้งแรก ปี 2548 ข้ามไป-กลับ 3 ประเทศ คือ ไทย สปป.ลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และครั้งที่ 2 ล่าสุด ปี 2554 ไป-กลับ ไทย - สปป.ลาว ในโอกาสที่ภาควิชาฯ ได้ดำเนินงานมาด้วยระยะเวลาที่ยาวนานถึง 3 รอบ หรือ 36 ปี นั้น มีทั้งสิ่งที่ประสบผลสำเร็จน่ายินตี และทั้งที่ไม่ประสบผลแต่น่าจดจำนำไปเป็นอนุสติเตือนใจเพื่อนำไปแก้ไขในอนาคต จำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้น การได้งานทำของบัณฑิต ระดับค่าตอบแทนที่บัณฑิตได้รับ ตลอดจนระดับคุณภาพของนักเรียนที่เลือกเข้ามาเรียน ล้วนเป็นตัวบ่งขี้ว่าการดำเนินงานของภาควิชาฯ ที่ผ่านมานั้น เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องหรือยัง แต่อย่างไรก็ตาม คิดว่าภาควิชาฯ ยังต้องการพัฒนาการไปข้างหน้าอีกมาก

คำแนะนำหรือการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนจึงยังคงมีความจำเป็นต่อภาควิชาฯ เสมอ

โดย... ผศ. วินิจ ยังมี

ลิงค์ KKUGA

ลิงค์ที่เกี่ยวข้องและผู้สนับสนุนชมรม KKUGA